Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน ขั้นตอนการเกษตร
ที่ขาดไม่ได้

การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน ขั้นตอนการเกษตร <BR> ที่ขาดไม่ได้

การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน ขั้นตอนการเกษตร
ที่ขาดไม่ได้

การปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดิน กระบวนการสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางเกษตร นับว่าเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้สำหรับการปลูกพืช ซึ่งการการปรับพื้นที่นา การปรับหน้าดินนั้นจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้ได้หน้าดินที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้ที่สุด โดยจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง KUBOTA (Agri) Solutions ได้สรุปมาให้อย่างครบถ้วนในบทความนี้แล้ว

การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน คืออะไร

การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน (Land Leveling) คือการปรับระดับหน้าดินหรือปรับพื้นที่ที่มีลักษณะไม่เสมอกัน เช่นมีบางจุดสูง บางจุดต่ำ ให้ราบเรียบสม่ำเสมอกันตามระดับความลาดเทที่ต้องการ เพื่อให้การทำงานของเครื่องมือและเครื่องจักรทางการเกษตรราบรื่นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

 

รับชมคลิปการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน คลิกที่นี่

ความสำคัญของการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน

การปรับพื้นที่ หรือการปรับหน้าดิน ทำให้การทำการเกษตรเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น เพราะจะทำให้การให้น้ำทางผิวดินและการทำงานของเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้

 

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำ เพราะการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดิน จะช่วยให้น้ำกระจายอย่างสม่ำเสมอ พอดีกับที่พืชต้องการ ไม่มีน้ำขัง เพราะน้ำขัง
    จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของวัชพืชเป็นอย่างดี โดยควรรักษาระดับน้ำในแปลงไว้ที่ความลึกประมาณ 10 – 15 ซม. ทั่วทั้งแปลง สำหรับการปลูกข้าวแบบนาดำ

 

  • ช่วยให้รถเพื่อการเกษตร เช่นแทรกเตอร์ ทำงานได้สะดวก เพราะการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินช่วยให้เครื่องจักรเข้าทำงานในไร่ได้ดี มีคุณภาพ เพราะสามารถทำความเร็วได้อย่างเหมาะสมในพื้นที่ราบเรียบ ไม่มีอุปสรรคในเรื่องของความขรุขระ และส่งผลให้การเจริญเติบโตของพืชมีประสิทธิภาพเช่นกัน

 

  • ช่วยให้ใช้งานเทคโนโลยีการเกษตรได้ดี เช่นการใช้ GPS เพื่อควบคุมพวงมาลัยแทนคนขับ ในการกำหนดแนวร่องปลูกเพราะวิธีนี้จะช่วยลดการบดดันหน้าดิน
    โดยการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อนำร่องการปลูกจะทำไม่ได้เลยหากพื้นที่ไม่เสมอกัน เพราะการควบคุมให้รถวิ่งตรง ๆ โดยใช้ GPS จะไม่สามารถทำบนพื้นที่ที่ไม่เรียบ
    ได้เลย

 

  • ช่วยลดวัชพืชและทุ่นเวลาการทำงาน เพราะการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน จะทำให้ไม่มีน้ำขัง ซึ่งน้ำขังจะส่งผลให้วัชพืชเติบโตและทำให้จัดการยาก อีกทั้ง
    เมื่อแปลงนาถูกปรับระดับให้สม่ำเสมอดีแล้ว จะช่วยลดเวลาการทำงานลงได้ เพราะน้ำจะไหลเข้าแปลงในอัตราที่เร็วขึ้น และซึมลงดินและไหลสู่ท้ายแปลง
    ในระยะเวลาที่สั้นลง

 

ขั้นตอนการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน

ในการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่เหมาะสมอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ดินที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของพืชชนิดต่าง ๆ มากที่สุด โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.    ไถพรวนดิน ย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง

การไถพรวนดินเพื่อให้ดินมีขนาดเล็กลงนั้น คือการปรับหน้าดินที่ช่วยให้ดินร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้รากสามารถดูดซึมน้ำและธาตุอาหารในดินได้ง่าย
อีกทั้งยังช่วยให้ผิวดินกักเก็บน้ำได้ดีขึ้น และรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่ได้อย่างยาวนาน

2.    โรยปูนขาวปรับสภาพดินที่มีความเป็นกรดสูง

เพราะหากสภาพดินนั้นมีความเป็นกรดหรือเป็นด่างมากเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ ดังนั้นควรใช้ปูนขาวโรยก่อนทำการปรับหน้าดิน เพราะปูนขาว
มีคุณสมบัติในการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีค่า pH ที่เป็นกลางได้ ทำให้ดินมีความสมบูรณ์ขึ้น ที่สำคัญปูนขาวราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย จึงนิยมใช้กัน
ในหมู่เกษตรกรอย่างมากและทำให้สามารถปลูกพืชได้อย่างไร้ปัญหา

3.    คลุมดินด้วยวัสดุต่าง ๆ

ทำการคลุมดินโดยใช้เศษซากอินทรีย์วัตถุก่อนทำการปรับหน้าดิน อย่างเช่น มูลสัตว์ เศษใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย ซากพืช ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนจนพืช
ไม่เจริญเติบโต และช่วยรักษาความชื้นภายในดิน ป้องกันการกัดเซาะล้างของผิวดินจากน้ำและลม ทำให้อุณภูมิของผิวดินไม่สูงเกินไปเพราะพืชจะเจริญเติบโตได้ดี
เมื่อมีความชื้นในดินที่เหมาะสม ช่วยบำรุงดิน และควบคุมวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมารบกวนได้

4.    รดน้ำหมักชีวภาพ

ใช้น้ำหมักฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินทำให้ดินร่วนซุย เพื่อให้การปรับพื้นที่และการปรับหน้าดินราบรื้นขึ้น เพราะดินจะอุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดินและเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดินและน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์และท่อนพันธุ์เพื่อเร่ง
การเกิดราก ช่วยในการแตกตาดอก และยังต้านแมลงศัตรูพืชได้ ส่งผลให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพสูงสุด 

5.    คลุมฟางข้าวทับหน้าดิน

การใช้ฟางข้าวคลุมทับหน้าดิน ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับพื้นที่ โดยฟางข้าวคือส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยวและนำเมล็ดข้าวออกแล้ว
และจะมีส่วนประกอบของตอซัง หรือกอข้าวรวมอยู่ในฟางข้าวด้วย โดยก่อนใช้ฟางคลุมดินควรนำไปตากแดดให้แห้งก่อนทุกครั้งเพื่อไม่ให้ชื้นและเกิดการหมักหมม
เพราะจะเป็นอันตรายต่อพืชได้โดยตรง

เครื่องจักรกลการเกษตรที่ช่วยในการปรับพื้นที่และการปรับหน้าดิน

แนะนำใบมีดดันดิน อุปกรณ์ที่จะทำให้งานปรับพื้นที่ การปรับหน้าดินของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยทุ่นแรงและเวลา ซึ่งการจะใช้ใบมีดดันดินเหล่านี้ จำเป็นต้องมีรถแทรกเตอร์เพื่อต่อพ่วงเข้าด้วยกัน

ที่ KUBOTA เรามีใบมีดดันดินให้คุณได้เลือกตามความเหมาะสมมากกว่า 15 รายการ ที่ได้รับการออกแบบพิเศษให้ทำงานร่วมกันได้กับเครื่องจักรกลการเกษตรหรือรถแทรกเตอร์ของ KUBOTA ได้อย่างไร้ข้อจำกัด

 

โดย KUBOTA ขอแนะนำรุ่นยอดฮิตหลัก ๆ 3 รุ่นนี้ ดังนี้ 

FD186F

ใบมีดดันดินรุ่น FD186F

 

FD240NT

ใบมีดดันดินรุ่น FD240NT

 

FD220L

ใบมีดดันดินรุ่น FD220L

 

หากคุณสนใจอุปกรณ์สำหรับการปรับพื้นที่ ปรับหน้าดิน สามารถดูทั้งหมดได้ที่นี่ 

 

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน

การปรับพื้นที่ การปรับหน้าดิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากเมื่อจะเริ่มทำการเกษตร เพราะมีผลกับการเจริญเติบโตของพืชผักต่าง ๆ ในระยะยาว
และต้องมีการทำตามขั้นตอนที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เป็นที่น่าพึงพอใจและได้คุณภาพสูงสุด โดยเกษตรกรทุกคนจะสามารถมั่นใจ
และวางใจได้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพอย่างใบมีดดันดินตราช้างสำหรับต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์จาก KUBOTA

 

สามารถดูใบมีดดันดินทั้งหมดจาก KUBOTA ได้ที่นี่ หรือสอบถามเพิ่มเติม

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA