เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ทดลองขับ ทดลองขับ สินค้าตามการใช้งาน สินค้าตามการใช้งาน ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย คำนวนสินเชื่อ คำนวนสินเชื่อ
กลับ

สาระความรู้

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

พี่ ๆ เกษตรกรท่านไหนที่ใช้งานเครื่องยนต์คูโบต้าอยู่ในช่วงนี้ แล้วเริ่มรู้สึกว่าอัตราเร่งเครื่องยนต์ไม่ตอบสนองเหมือนเดิม มีเสียงดังแปลก ๆ ตรงบริเวณฝาครอบวาล์ว ไม่ต้องกังวลไปนะครับ อาจจะถึงเวลาบำรุงรักษาตัววาล์วไอดีและวาล์วไอเสียกันแล้ว วันนี้น้องคูโบแมนมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย มาฝาก จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลยครับ

 

วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย คืออะไร 

วาล์วไอดี คือ วาล์วที่กดเปิดช่องรับอากาศจากภายนอกมาเพื่อเข้าสู่กระบวนการติดของเครื่องยนต์ 

วาล์วไอเสีย คือ วาล์วที่เปิดและปล่อยไอเสียที่จุดระเบิดคลายออกทางท่อไอเสีย

โดยตำแหน่งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย อยู่ที่บริเวณฝาสูบเครื่องยนต์

 

ทำไมจึงต้องปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

หากไม่ปรับตั้งวาล์วให้อยู่ในค่าที่กำหนด จะทำให้กำลังเครื่องยนต์ในการดูดอากาศวาล์วไอดีน้อยลง และการปล่อยไอเสียของวาล์วไอเสียจากการจุดระเบิดก็น้อยลงเช่นกัน (คือตำแหน่งการกดของสปริงที่วาล์วน้อย) จะทำให้มีเสียงดัง ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการปรับตั้งจะทำให้การทำงานอัตราการเร่งไม่ดี

 

วิธีการปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย ควรปรับตั้งระยะห่างทุก ๆ 100 ชั่วโมงของการทำงาน ตามค่ามาตราฐานในการปรับตั้งวาล์วจะอยู่ที่ 0.02 มิลลิเมตร โดยใช้ฟิลเลอร์เกจเป็นตัววัด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาอัตราการเร่งไม่ตอบสนองเหมือนเดิม และเสียงดังจากฝาครอบวาล์ว โดยมีวิธีการปรับตั้งดังต่อไปนี้

 

  1. หมุนเครื่องยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งอัดสุด โดยตรวจเช็กสัญลักษณ์ T บนล้อช่วยแรง
  2. เปิดฝาครอบวาล์ว โดยใช้ประแจเบอร์ 10 คลายน็อตยึดฝาครอบ 3 ตัว (ระวังประเก็นที่ฝาครอบวาล์วขาด)
  3. ปรับตั้งวาล์ว โดยการคลายน็อตด้วยประแจเบอร์ 12 และไขควงปาแบน
  4. ใช้ฟิลเลอร์เกจขนาด 0.20 มม. วัดระยะห่างของหมวกวาล์วกับกระเดื่องวาล์ว​ ทั้งวาล์ว​ไอดีและวาล์วไอเสีย ให้พอดี
  5. ล็อกน็อตที่ปรับตั้ง โดยใช้ไขควงล็อกตำแหน่งที่หัวสกรูไม่ให้ขยับ พร้อมล็อกน็อตเบอร์ 12 ให้แน่น
  6. ปิดฝาครอบวาล์ว และขันน็อตเบอร์ 10 ทั้ง 3 ตัวกลับคืนให้แน่น

 

วิธีการปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสียก็มีเพียงเท่านี้ เครื่องยนต์ของพี่ ๆ ก็พร้อมที่จะลุยงานต่อเนื่องไปกับพี่ ๆ ได้ทุกที่แล้ว หากพี่ ๆ ท่านใดต้องการรู้เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์หัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน Kubota Smart >> เลือก “การดูแลสินค้า” >> เลือก “เครื่องยนต์&รถไถ” และดูหัวข้อที่สนใจอื่น ๆ ได้เลยครับ