Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

สวัสดีครับพี่น้องชาวเกษตรกรทุกท่าน เหลืออีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าฤดูเก็บเกี่ยวกันแล้ว หวังว่าปีนี้ผลผลิตของทุกท่านจะมีคุณภาพดี และขายได้ราคาดีๆกันนะครับ วันนี้ผมก็ยังมีเนื้อหาสำคัญไม่แพ้ครั้งที่แล้วมานำเสนอครับ นั่นก็คือ พ.ร.บ. นั่นเอง แล้ว พ.ร.บ. คืออะไร และความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. (ภาคบังคับ) คืออะไร เราไปทำความเข้าใจกันเลยครับ

พระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ. )  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  พ.ศ. 2535  เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด  คือการทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยที่ผู้ประสบภัยก็คือ ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง ซึ่งหมายรวมถึง คนเดินถนน ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร

 

ผลกระทบจากการไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ.

กรณีที่เราไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. หากเกิดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลภายนอก ผู้ครอบครองรถต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอก และเสียค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. ครับ และยังไม่สามารถต่อภาษีรถประจำปีได้ด้วย แต่ถ้าเราทำ พ.ร.บ. ไว้ เราก็ไม่จำเป็นต้องชำระค่าเสียหายข้างต้น โดยบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายข้างต้นกับผู้เสียหายแทนเราครับ และถึงแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด พ.ร.บ. ก็ยังคุ้มครองเราในกรณีที่มีค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือถ้าถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ก็จะมีค่าชดเชยให้อีกด้วยครับ โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้จากตารางด้านล่างครับ

 

ความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. เกิดเหตุตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 

– เสียชีวิต, ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, สูญเสียมือ แขน เท้า ขา ตาบอด 2 อย่าง / 2 ข้างขึ้นไป ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท

– ทุพพลภาพอย่างถาวร (ไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ในอาชีพประจำได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป) ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท

– หูหนวก, เป็นใบ้ / สูญเสียความสามารถในการพูด, ลิ้นขาด, สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ / ความสามารถ, จิตพิการติดตัว, สูญเสียอวัยวะอื่นใดที่ส่งผลให้การใช้ชีวิตผิดปกติ, สูญเสีย มือ แขน เท้า ขา ตาบอด 1 ข้าง ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท

– นิ้วขาด (มือ / เท้า) 1 ข้อขึ้นไป ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท

– บาดเจ็บ / สูญเสียอนามัย, ค่าเสียหายอย่างอื่น ที่สามารถร้องเรียนได้ตามมูลละเมิด ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 80,000 บาท

– เงินชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน สำหรับผู้ถูกกระทำละเมิด วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 4,000 บาท       

หมายเหตุ : ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายจะได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท และกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. มีความสำคัญมากนะครับ ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ขึ้นมา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ สำหรับรถที่ใช้ในการเกษตรก็เพียงแค่ 97 บาทต่อปีเองครับ แต่อาจจะต้องมีเอกสารยืนยันการใช้งานทางด้านเกษตรกรรม เช่น สำเนาที่ดินที่มีขนาดมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป หรืออื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ทางกรมการขนส่ง และบริษัทประกันภัยต้องการครับ ดังนั้นอย่าลืมทำ พ.ร.บ. ก่อนไปต่อภาษีทุกๆ ปีนะครับ